ชิรวัฒน์ นิจเนตร (2528 : 2) กล่าวว่า
ชุมชน คือ
หน่วยทางสังคมขนาดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นกลุ่มก้อนอาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน
มีประวัติความเป็นมาและสภาพความเป็นอยู่คล้ายคลึงกัน
มีความรู้สึกนึกคิดและผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของสมาชิกส่วนใหญ่ได้
ชุมชนย่อมหมายถึงแหล่งที่มีคนมาอยู่รวมกันมาก ๆ แตกต่างกันด้วย วัย ความรู้ ทักษะ
ความสามารถ เพศ อาชีพ และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
อุทัย หิรัญโต (2552 : 8)
มีความเห็นว่า ชุมชนหรือชุมนุมชน หมายถึง กลุ่มชนกลุ่มหนึ่งที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตภูมิศาสตร์แห่งใดแห่งหนึ่งที่แน่นอน
มีผลประโยชน์ใหญ่ร่วมกันมีแนวพฤติกรรมเป็นอย่างเดียวกันทั้งด้านภาษา ขนบธรรมเนียม
ประเพณี หรือมีวัฒนธรรมร่มกัน
สุวิทย์ ยิ่งวรพันธุ์ ได้ให้คำนิยามว่า “ชุมชน” หมายถึง กลุ่มชนที่อยู่รวมกันโดยมีความรู้สึกผูกพันกัน
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะโดยอาศัยหลักผูกพันธ์ในทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
ศาสนาเดียวกันก็ตามที่ทำให้แต่ละบุคคลมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้น
พัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ ได้อธิบายความหมายของ “ชุมชน” ดังนี้
1. ความหมายทั่วไปของ “ชุมชน”
ตามความรู้สึกของบุคคลธรรมดานั้น “ชุมชน”
ก็คือที่ที่เขาตั้งบ้านเรือนอาศัยหรือสถานที่ที่เขาทำงานอยู่
ชุมชนจะเป็นแหล่งที่มีบ้านเรือน ร้านค้าตั้งรวมกันอยู่ อาจจะมีโรงงาน
สถานที่ราชการ มีถนนหนทางหรือลำน้ำไหลผ่าน เป็นต้น พูดอีกนัยหนึ่งตามความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไปแล้ว
เขามักจะเหมาทึกทักเอาว่า เขานั้นรู้ดีว่า ชุมชนของคนนั้น ได้แก่
สถานที่บริเวณแห่งหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเฉพาะที่คุ้นเคยเป็นพิเศษ
ไม่ว่าอาณาบริเวณสถานที่นั้นจะเป็นละแวกบ้าน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด
หรือแม้กระทั่งประเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทรรศนะเกี่ยวกับชุมชนของบุคคลนั้นแคบหรือกว้างเพียงใด
วนิดา สุทธิสมบูรณ์.การศึกษากับการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2541
วนิดา สุทธิสมบูรณ์.การศึกษากับการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2541
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น