ข้อความต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่ blogger ค่ะ
ยินดีต้อนรับสู่บล็อกเกอร์ค่ะ

หน้า 3


วิธีการมองชุมชนในรูปนี้อาจแยกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
     1. ชุมชนในฐานะเป็นพื้นที่แห่งหนึ่งทางภูมิศาสตร์ หมายถึง แหล่งที่ประชาชนตั้งบ้านเรือน หรือสถานที่พักอาศัยอยู่รวมกันและสมาชิกมีการติดต่อกันมากกว่าบุคคลภายนอก
   2. ชุมชนในฐานะเป็นหน่วยปกครองของรัฐ ตามกฎหมาย ในทรรศนะนี้ชุมชน คือ บริเวณที่ประชาชนอยู่ในเขตรับผิดชอบของการปกครอง หรือการบริหารงานของรัฐ ภายใต้เจ้าหน้าที่ชุดเดียวกัน
   3. ชุมชนในฐานะที่เป็นที่รวมของละแวกบ้านตามลักษณะหมู่บ้านชนบทไทยนั้นจะเห็นได้ว่า เป็นสถานที่รวมกันของละแวกบ้านใกล้เรือนเคียงตามธรรมชาติ ซึ่งจะเห็นได้จากการแบ่งออกเป็นหมู่ 1- 2- 3 เป็นต้น
 2. ชุมชนละแวกบ้านและสังคม
      จากการใช้แนวคิดเกี่ยวกับบริเวณเป็นเกณฑ์ในการกำหนดชุมชนนี้  ชุมชนครอบคลุมไปได้กว้างตั้งแต่ละแวกบ้าน จนถึงสังคมประชาชาติ อย่างไรก็ดีเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าละแวกบ้านที่มีบริเวณแคบกว่าชุมชนและบริการต่างๆ ที่มีใช้เพื่อบริการความต้องการของสมาชิกก็มีจำนวนน้อยกว่าของชุมชน
      ในระดับละแวกบ้านเดียวกันนั้น บุคคลจะมีความสัมพันธ์กันในแบบเฉพาะหน้า (Face to Face Relationship) แต่ในชุมชนบุคคลอาจจะไม่มีความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าวได้
       ส่วนสังคมนั้นมีความหมายกว้างขวาง นอกจากครอบคลุมขอบเขตบริเวณที่กว้างขวางกว่าชุมชนแล้ว สังคมยังมีลักษณะที่เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองมากกว่าในระดับสังคมนั้น จะต้องมีการจัดหาบริการเพื่อสนองความต้องการที่จำเป็นทั้งหมดที่สมาชิกต้องการแต่ในชุมชนนั้นการจัดบริการไม่จำเป็นจะต้องมุกอย่างเพราะส่วนใดที่ชุมชนไม่สามารถจะจัดหามาได้ สังคมเป็นหน่วยจะต้องจัดหา
        ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ชุมชนอยู่ตรงกลางระหว่างละแวกบ้านและสังคม ทั้งในแง่ของขนาดและในแง่ของจำนวนบริการที่สามารถบำบัดความต้องการของสมาชิก

 วนิดา สุทธิสมบูรณ์.การศึกษากับการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2541

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น