ข้อความต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่ blogger ค่ะ
ยินดีต้อนรับสู่บล็อกเกอร์ค่ะ

หน้า 4


   3. บริเวณชุมชน ประชาชน และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน
       บริเวณชุมชนก็คือ แหล่งที่ความต้องการที่จำเป็นของสมาชิกนั้นจะต้องการได้รับการบำบัด แต่บริเวณชุมชนนั้นยังมิใช่ชุมชนอยู่นั่นเอง เพราะถ้าประชาชนอพยพออกจากบริเวณชุมชนนั้นทั้งหมด ชุมชนก็ต้องสลายไปทั้ง ๆ ที่บริเวณชุมชนนั้นยังมีอยู่
       จึงอาจกล่าวได้ว่า ทั้งบริเวณชุมชนและประชาชนจึงมิใช่เป็นชุมชน โดยตรงแต่เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับชุมชน
       นักวิชาการได้นิยามว่า ชุมชนประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณชุมชน ดังคำพูดที่ว่า ชุมชนนั้นจะต้องมีอาณาเขตบริเวณร่วมกันและดำรงชีวิตร่วมกัน ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนจึงเป็นหัวใจสำคัญของแนวคิดของชุมชน
       นักวิชาการได้แยกแยะคำว่า  “ชุมชนไว้ในลักษณะนามธรรม 7 ประการคือ
       1. กลุ่มคน (Groups)
       2. องค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Organization)
       3. สถาบัน (Institution)
       4. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labour)
       5. ค่านิยม (Values)
       6. การแบ่งชั้นทางสังคม (Social Differentiation)
       7. โครงสร้างและหน้าที่ (Structure and Function)
       พิมพ์พรรณ  เทพสุเมธานนท์ (2532 : 22 ) ได้สรุปความหมายของ ชุมชน ว่าความหมายของคำว่า ชุมชนขึ้นอยู่กับสถานภาพและสิ่งแวดล้อม เมื่อศึกษาโดยสรุปแล้วจะเห็นว่าชุมชนนั้นต้องประกอบด้วย
      1. ประชาชน หรือคน (people)
      2. ความสนใจของคนร่วมกัน (common interest)
      3. พื้นที่หรืออาณาบริเวณ (area)
     4. การปฏิบัติต่อกัน (interaction)
     5. ความสัมพันธ์ของสมาชิก (relationship) ที่ผูกพันให้อยู่ร่วมกันในชุมชนนั้น

 วนิดา สุทธิสมบูรณ์.การศึกษากับการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2541

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น