ข้อความต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่ blogger ค่ะ
ยินดีต้อนรับสู่บล็อกเกอร์ค่ะ

หน้า 5


      อัจฉรา  โพธิยานนท์  (2539 : 22) ได้ให้ความหมายของ ชุมชน ว่าหมายถึงแหล่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน  มีขอบเขตแน่นอน ในลักษณะของหย่อมบ้าน หมู่บ้าน ตำบล เมือง อำเภอ จังหวัด เขต ภาค หรือเผ่าพันธุ์ หรือจะเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นในประเทศอื่นๆ ก็ตาม แหล่งพื้นที่ดังกล่าวนี้จะมีกลุ่มคนมาอาศัยอยู่ร่วมกันแตกต่างกันด้วยอายุ เพศ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ อาชีพ แต่มีความเหมือนกันด้านวิถีการดำรงชีวิต วัฒนะธรรมและความเป็นอยู่ แล้วมีกิจกรรมร่วมกัน แบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบกันทำในสังคม และมีเอกลักษณะเฉพาะชุมชน ไม่ว่าจำนวนคนจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปเพราะการตายหรืออพยพ โยกย้ายชุมชนก็จะยังมีอยู่ตราบเท่าที่ชุมชนนั้นยังมีกลุ่มคน อาคารบ้านเรือน และรูปแบบการดำรงชีวิตร่วมกันอยู่  ณ สถานที่ตั้งของชุมชนนั้น  แต่สิ่งที่ทำให้ชุมชนมีความหลากหลายและแตกต่างกันคือ โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม และสภาวะความแตกต่างทางด้านความเจริญทางเศรษฐกิจและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามสภาพพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพชีวิตของประชาชนของประเทศไทยออกมาเป้นเครื่องชี้วัดระดับการพัฒนาชุมชนแต่ละแห่ง
       Arthur Dunham ให้คำจัดกัดความของ ชุมชนดังนี้
       ชุมชนหนึ่ง คือ กลุ่มมนุษย์กลุ่มหนึ่ง ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในอาณาเขตทางภูมิศาสตร์ที่ค่อนข้างแน่นอนและติดต่อกัน และมีส่วนสำคัญของชีวิตทั่ว ๆ ไปอย่างเดียวกัน ดังมองเห็นจากมารยาท ประเพณี ขนบธรรมเนียม และแบบแห่งการพูด  (พัฒน์ สุจำนงค์, 2524 : 4)
       Carter V. Good ได้ให้ความหมายของ ชุมชนไว้ใน Dictionary of Education ไว้ว่า
      ชุมชน หมายถึง กลุ่มชนที่มีความสนใจในเรื่องต่าง ๆ คล้าย ๆ กัน อาจจะอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน หรืออาจจะอยู่กระจัดกระจายกันคนละแห่งก็ได้ เช่น ชุมชนของนักวิทยาศาสตร์  ชุมชนของแพทย์ เป็นต้น หรือ
     ชุมชน หมายถึง กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาและวัฒนะธรรมเดียวกัน มีสภาพภูมิศาสตร์ที่อำนวยให้ประชาชนประกอบกิจกรรมที่มีความสนใจร่วมกันได้ง่าย ฯลฯ

 วนิดา สุทธิสมบูรณ์.การศึกษากับการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2541

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น